Blockchain101: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DApp
Ethereum เปิดตัวในปี 2015 และเพียงไม่กี่ปีต่อมา Ether(ETH) ซึ่งเป็นคริปโตของ Ethereum ก็ได้พุ่งขึ้นไปทำ All Time High ที่ประมาณ $4,800
Ethereum ต่างจากเครือข่าย Bitcoin ตรงที่ไม่ได้เป็นแค่ระบบโอนเงินสดไร้ตัวกลางเพียงอย่างเดียว
เพราะมาพร้อม Smart Contract ที่เป็นฟังก์ชันขั้นสูง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) บนบล็อกเชน Ethereum ได้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกระจายศูนย์สาธารณะแบบเปิดที่ไม่มีใครหรือกลุ่มใดสามารถควบคุมได้
บทความนี้จะพาไปแนะนำให้รู้จักกับ DApp พร้อมมองภาพไปยังอนาคต
คำจำกัดความของ DApp
DApp (แอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์) คือแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ โดยผสานการทำงาน Smart Contract เข้ากับอินเทอร์เฟซการใช้งานส่วน Front-End
Smart Contract แท้จริงแล้วคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถเข้าถึงได้และโปร่งใส
ตามข้อมูลของ ethereum.org ระบุไว้ว่า DApp ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้:
● กระจายศูนย์: DApp ดำเนินงานโดย Node หลายพันตัวทั่วโลก ไม่มีฝ่ายใดสามารถควบคุมได้ แม้แต่รัฐบาลและนักพัฒนา
● กำหนดเป้าเฉพาะ: การดำเนินงานของ DApp ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสภาพแวดล้อม
● Turing Complete: DApp สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้หากได้รับทรัพยากรที่จำเป็น
● เป็นเอกเทศ: DApp ดำเนินงานในสถานการณ์ที่แยกเป็นเอกเทศ หาก DApp มีบั๊ก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานปกติของเครือข่ายบล็อกเชน ที่มา: 002 | เราจำเป็นต้องมี DApp ไหม | โปรแกรมเมอร์คลายสงสัย
ประโยชน์และความเสี่ยงของ DApp
ทำไมเราต้องมี DApp ลองจินตนาการว่าคุณเป็นผู้เล่นเกมออนไลน์ หากบัญชีของคุณถูกแฮ็กหรือแบนโดยผู้ดูแลเกม คุณจะสูญเสียสินทรัพย์ในเกมทั้งหมดที่คุณหามาด้วยความยากลำบาก
นั่นคือประสบการณ์จริงของ Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum แต่กับ DApp นั้นไม่ต้องมีความกังวลเลย เนื่องจาก DApp ดำเนินงานโดย Node แบบกระจายศูนย์ทั่วโลกซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแฮ็กได้โดยง่าย
นี่คือข้อดีและความเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินงาน DApp เมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิม:
ข้อดีต่างๆ
ดำเนินงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่มีวันหยุด: เมื่อจัดเก็บ Smart Contract ของ DApp ไว้บนบล็อกเชนแล้ว ก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้โดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันเสมอ DApp แต่ละตัวไม่สามารถถูกโจมตีแบบ Denial of Service ได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดที่แอปพลิเคชันแบบดั้งเดิมต้องเผชิญ
เว้นแต่จะมีคนทำการโจมตี 51% ต่อทั้งตัวบล็อกเชน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะมีใครทำเช่นนั้นได้
รักษาความเป็นส่วนตัวของคุณ: หากคุณเปิดบัญชี Facebook คุณต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ แต่การ Deploy หรือโต้ตอบกับ DApp นั้นไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลตัวตนในโลกความเป็นจริง
ต้านทานต่อการถูกเซ็นเซอร์: ไม่มีหน่วยงานใด ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือนักพัฒนา DApp ที่สามารถบล็อกผู้ใช้ไม่ให้ส่งธุรกรรมเข้ามา, Deploy และโต้ตอบกับ DApp หรืออ่านข้อมูลจากบล็อกเชนได้
แต่แอปพลิเคชันแบบดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter หรือ Facebook นั้นมีสิทธิ์ในการให้อนุญาตหรือแบนบัญชีผู้ใช้ได้ เช่น บัญชีของ Donald Trump อีกทั้งยังอาจเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่จัดเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุณได้
ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้และไม่อาจโต้แย้งได้: ข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนบล็อกเชนนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้และไม่อาจโต้แย้งได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจส่วนกลาง ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติรายการธุรกรรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะแล้วได้
อีกสิ่งที่ต่างจากแอปพลิเคชันทางการเงินแบบดั้งเดิมอย่าง PayPal ที่หากเซิร์ฟเวอร์ถูกแฮ็ก ประวัติธุรกรรมก็อาจเปลี่ยนแปลงหรือสูญหายได้ คือสิ่งนี้อาจไม่เกิดขึ้นใน DApp
ความเสี่ยง
ยากต่อการบำรุงรักษา: เมื่อเปรียบเทียบกับแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิม เมื่อมีการเผยแพร่ DApp ไปแล้ว ก็จะยากกว่าในการบำรุงรักษา เนื่องจากข้อมูลจัดเก็บไว้บนบล็อกเชน ซึ่งไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แม้เจอบั๊กหรือความเสี่ยงด้านความปลอดภัย นักพัฒนาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ
เครือข่ายมีประสิทธิภาพต่ำ: ปัจจุบันเครือข่าย Ethereum ประมวลผลธุรกรรมได้เพียง 10-15 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น หากมี DApp ดำเนินงานบนเครือข่ายมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ DApp ทั้งหมดที่สร้างบนบล็อกเชนนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
ต้นทุนการดำเนินงานสูง: เพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัย ความถูกต้องสมบูรณ์ ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือของบล็อกเชน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบยืนยันที่ใช้เวลานาน เรียกว่า Proof of Work ทำให้ DApp มีต้นทุนการขยายบริการอย่างมหาศาล
ยากที่จะสร้างประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้: เป็นเรื่องยากในการตั้งค่าชุดเครื่องมือที่จำเป็นในการโต้ตอบกับบล็อกเชนในรูปแบบที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
4 กรณีการนำ DApp ไปใช้งานที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน
DApp ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการเงิน เกม และสินทรัพย์ดิจิทัล โซเชียล และความบันเทิง ธุรกิจ และอื่นๆ อีกมากมาย
DeFi (Decentralized Finance)
DeFi (Decentralized Finance) หมายถึงระบบการเงินที่ไม่มีหน่วยงานส่วนกลาง เช่น ธนาคารหรือรัฐบาล ที่จะมาจัดการบัญชีและตรวจสอบยืนยันธุรกรรมต่างๆ บนบัญชี ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
DeFi ท้าทายระบบการเงินแบบดั้งเดิม การใช้งาน DeFi ทำให้ผู้ใช้ได้รับการปกป้องด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ผู้ใช้สามารถทำการโอนได้แบบไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trustless) โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการละเมิด
ตัวอย่างแอปพลิเคชัน DeFi: Avalanche , Wrapped Bitcoin , DAI มีให้บริการในการเทรด Spot บน Bitget
GameFi และ NFT
GameFi คือโมเดลการเล่นเกมแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ฟีเจอร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือการอนุญาตให้ผู้ใช้ได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโต และ Non-Fungible Token (NFT) ที่สามารถทำธุรกรรมได้ในตลาด ดังนั้นจึงสามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกมได้
กฎของเกมนั้นมีความโปร่งใสอย่างสมบูรณ์ มีกลไก มีระบบการเทรด และมีระบบรางวัลระบุไว้อย่างชัดเจนใน Smart Contract ที่จัดเก็บอยู่บนบล็อกเชน ซึ่งจะดำเนินการโดยอัตโนมัติและไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้
จึงทำให้เป็นการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเกมเมอร์อย่างสมบูรณ์ แทนที่จะถูกควบคุมโดยบริษัทเกม
ตัวอย่าง GameFi DApp: Axis-Infinity , Sandbox , Decentraland มีให้บริการในการเทรด Spot บน Bitget
โซเชียลและความบันเทิง
คุณเบื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไหม คุณกังวลว่าข้อมูลของคุณกำลังถูกติดตามตรวจสอบและเปิดเผยโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Meta หรือไม่
ถ้าใช้ DApp โซเชียลและความบันเทิง ก็จะไม่ต้องกังวลเช่นนี้อีกต่อไป คุณไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวใดๆ เมื่อทำการโต้ตอบ สามารถทำได้แบบไม่เปิดเผยตัวตนโดยสมบูรณ์ ข้อมูลของคุณจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยบนบล็อกเชน
ไม่เพียงเท่านั้น คุณยังสามารถรับผลตอบแทนเป็นคริปโตและ Non-Fungible Token (NFT) ได้ ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้ในตลาด เหมือนกับ GameFi โดยการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจบนแพลตฟอร์ม
ตัวอย่าง DApp โซเชียลและความบันเทิง: Basic Attention Token (BAT) และ Green Satoshi Token มีให้บริการในการเทรด Spot บน Bitget
ธุรกิจ
DApp เพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่โปร่งใสและเปิดกว้าง เราได้เห็น DApp แล้วทั้งในแวดวงการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การดูแลสุขภาพ และเภสัชกรรม
ตัวอย่าง DApp ธุรกิจ: Chainlink , EOS Dynasty มีให้บริการในการเทรด Spot บน Bitget
3 แพลตฟอร์มบล็อกเชนยอดนิยมที่สุดสำหรับ DApp
Ethereum : ETH เป็นคริปโตของ Ethereum ปัจจุบันเป็นคริปโทเคอร์เรนซี ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Bitcoin นวัตกรรมของ Ethereum คือฟังก์ชัน Smart Contract ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของ DApp
Solana : Solana มุ่งมั่นที่จะให้บริการ Distributed Ledger ให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งมีขีดความสามารถในการขยายการรองรับสูงกว่า อีกทั้งทีมงานยังให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยและการกระจายศูนย์อีกด้วย
EOS : EOS เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่มีประสิทธิภาพสำหรับ DApp ด้วยโซลูชันที่เรียบง่ายในการโฮสต์แอปพลิเคชัน ดำเนินงาน Smart Contract และระบบปฏิบัติการอื่นๆ
ข้อสงวนสิทธิ์: รายชื่อผลิตภัณฑ์และโปรเจกต์ทั้งหมดที่ปรากฏในบทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุน แต่กล่าวถึงเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น